วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

วิชา ธรรมะ

๑. ธรรมมีอุปการะมากมีอะไรบ้าง ? ที่ว่ามีอุปการะมากนั้นเพราะเหตุไร ? 
              ๑. มี สติ ความระลึกได้ และสัมปชัญญะ ความรู้ตัว ฯ
              เพราะทำให้เป็นผู้ไม่ประมาทในการทำกิจการงานใด ๆ และเป็นอุปการะ 
              ให้ธรรมเหล่าอื่นเกิดขึ้น ฯ

           ๒. ในรัตนะ ๓ พระธรรม ได้แก่อะไร ? ให้คุณแก่ผู้ปฏิบัติตามอย่างไร ?
              ๒. ได้แก่พระธรรมวินัยที่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ฯ
              ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ฯ

          ๓. พระโอวาทของพระพุทธเจ้า หรือที่เรียกกันว่าหัวใจพระศาสนา มีกี่ข้อ ? อะไรบ้าง ?
              ๓. มี ๓ ข้อ ฯ คือ
              ๑. เว้นจากทุกจริต คือประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา ใจ
              ๒. ประกอบสุจริต คือประพฤติดีด้วยกาย วาจา ใจ
              ๓. ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น

          ๔. ทุจริต คืออะไร ? ความเห็นว่าคุณของบิดามารดาครูบาอาจารย์ไม่มี 
              บุญบาปไม่มี จัดเป็นทุจริตข้อไหน ?
              ๔. คือ ประพฤติชั่วด้วยกายวาจาใจ ฯ 
              จัดเป็นมโนทุจริต ฯ

          ๕. ไตรลักษณะ ได้แก่อะไรบ้าง ?
              ๕. ๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง
              ๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์
              ๓. อนัตตตา ความเป็นของใช่ตนฯ

          ๖. พรหมวิหาร ๔ มีอะไรบ้าง ?
              ๖. มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ฯ
              เพราะเป็นธรรมเครื่องอยู่ของท่านผู้ใหญ่ ฯ

          ๗. นักเรียนผู้ต้องการจะเรียนหนังสือให้ได้ผลดี จะนำอิทธิบาทมาใช้อย่างไร ?
              ๗. ในเบื้องต้น ต้องสร้างฉันทะคือความพอใจในการศึกษาเล่าเรียนก่อน เมื่อ
              มีความพอใจ จะเป็นเหตุให้ขยันศึกษาหาความรู้ที่เรียกว่าวิริยะและเกิด
              ความใฝ่ใจใคร่รู้สิ่งต่าง ๆ มากขึ้น ที่เรียกว่าจิตตะ และเมื่อเรียนรู้แล้ว
              ก็ต้องนำความรู้นั้นมาใคร่ครวญพิจารณาให้เข้าใจเหตุและผลอย่างถูกต้อง
              ที่เรียกว่า วิมังสา ดั่งนี้ก็จะประสบผลสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียนได้ ฯ

คิหิปฏิบัติ

           ๘. ศีลที่คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นนิตย์ มีอะไรบ้าง ?
              ๘. มี ๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์
                      ๒. เว้นจากการลักทรัพย์
                      ๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
                      ๔. เว้นจากการพูดปด
                      ๕. เว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความ
                           ประมาท ฯ

          ๙. จงจับคู่ข้อทางซ้ายมือกับข้อทางขวามือให้ถูกต้อง
              ๙. ก. จะทำดีทำชั่ว ก็ต้องคล้อยตาม             ๑. มิตรดีแต่พูด
                   ข. ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว                ๒. มิตรหัวประจบ
                   ค. สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้      ๓. มิตรมีความรักใคร่
                   ง. ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว                         ๔. มิตรมีอุปการะ
                   จ. ทุกข์ ๆ ด้วย สุข ๆ ด้วย                        ๕. มิตรแนะประโยชน์
              ๙. ข้อ ก. คู่กับ ข้อ ๒.
                   ข้อ ข. คู่กับ ข้อ ๔
                   ข้อ ค คู่กับ ข้อ ๑
                   ข้อ ง คู่กับ ข้อ ๕
                   ข้อ จ คู่กับ ข้อ ๓.

          ๑๐. จงบอกโทษของการดื่มสุรามาสัก ๓ ข้อ
              ๑๐. มีโทษดังนี้ (ให้ตอบเพียง ๓ ข้อ)
                     ๑. เสียทรัพย์    ๒. ก่อการทะเลาะวิวาท    ๓. เกิดโรค
                    ๔. ต้องติเตียน  ๕. ไม่รู้จักอาย                 ๖. ทอนกำลังปัญญา ฯ
๑๑ มิตรแท้มี ๔ จำพวก คือ 
มิตรมีอุปการะ . มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ . มิตรแนะประโยชน์ . มิตรมีความรักใคร่
๑๒ การทำบุญโดยหย้อมี ๑๐ อย่าง คือ 
1. ให้ทาน หรือ ทานมัย อัน     2. รักษาศีล หรือ สีลมัย  คำว่า ศีล  3. เจริญภาวนา หรือภาวนามัย
4. การอ่อนน้อมถ่อมตน หรือ อปจายนมัย 5. การช่วยขวนขวายทำในกิจที่ชอบ
6. การให้ผู้อื่นมาร่วมทำบุญกับเรา 7. การอนุโมทนาส่วนบุญ 8. การฟังธรรม หรือ ธรรมสวนมัย
9. การแสดงธรรม หรือ ธรรมเทศนามัย 10. การทำความเห็นให้ถูกต้อง เหมาะสม
๑๓ เหตให้เกิดทุกข์ในอริยสัส เหตุให้เกิดทุกข์ซึ่งได้แก่ ตัณหา อันทำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ   ตราบใดที่ยังมีตัณหาอยู่ก็ยังมีปัจจัยให้เกิดอยู่   มีปัจจัยให้
นามธรรมและรูปธรรมเกิดขึ้น  ฉะนั้นก็จะต้องเป็นทุกข์    โลภ(สมุทัย) ทันทีที่เห็น
ก็ชอบแล้ว  ตราบใดที่ยังไม่เห็นทุกข์  ก็จะไม่เห็นสมุทัย  ตราบใดที่มีสมุทัยเป็นเหตุ
ยังมีความต้องการก็จะยังไม่เห็นตามความเป็นจริง
๑๔ขันธ์ ๕ ได้แก่ 1.รูปขันธ์ – ส่วนที่เป็นร่างกาย 
2.เวทนาขันธ์ – ส่วนที่เป็นความรู้สึก สุข ทุกข์ และเฉย ๆ 
3.สัญญาขันธ์ – ส่วนที่ทำให้จำอารมณ์ของ สุข ทุกข์ และเฉย ๆ ได้ 
4.สังขารขันธ์ – ส่วนที่เป็นความปรุงแต่งไปในทาง สุข ทุกข์ และเฉย ๆ 
5.วิญญาณขันธ์ – ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งในอารมณ์ต่าง ๆ
๑.
บุพพการีและกตัญญูกตเวที ได้แก่บุคคลเช่นไร จงยกตัวอย่างมาสัก ๒ คู่

ตอบ บุพพการี ได้แก่บุคคลผู้ทำอุปการะคุณก่อน
กตัญญูกตเวที ได้แก่บุคคลผู้รู้อุปการะคุณที่ท่านทำแล้วและทำตอบแทน
จับคู่ได้ดังนี้ คู่ที่ ๑ มารดาบิดากับบุตรีธิดา
คู่ที่ ๒ ครูอาจารย์กับศิษย์
คู่ที่ ๓ พระราชากับราษฎร
คู่ที่ ๔ พระพุทธเจ้ากับพุทธบริษัท
(ตอบเพียง ๒ คู่พอ)

๒.
พระพุทธเจ้าคือใคร ? ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์อย่างไร ?
ตอบ พระพุทธเจ้า คือท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ ตามพระธรรมวินัย ทรงสั่งสอนเป็นอัศจารรย์ คือผู้ปฏิบัติตามย่อมได้รับประโยชน์โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ และสามารถบันดาลให้ผู้ฟังกลับตัวกลับใจมาประพฤติและเห็นถูกได้อย่างอัศจรรย์
๓.
เห็นผิดจากคลองธรรม คือเห็นอย่างไรจัดเข้าในทุจริตข้อไหน?

ตอบ เห็นผิดจากคลองธรรม คือมีความเห็นผิดจากความเป็นจริง เช่น เห็นว่าบุญบาปไม่มี บิดามารดาไม่มีคุณ เป็นต้น จัดเข้าในมโนทุจริต เพราะความเห็นเช่นนั้นชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดจากคลองธรรม
หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน (สังคหวัตถุ ๔)

มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่

๑. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว
เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้
๒. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง 
เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น 
วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
๑. เว้นจากการพูดเท็จ
๒. เว้นจากการพูดส่อเสียด

๓. เว้นจากการพูดคำหยาบ

๔. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

๓. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์หรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
๔. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย

อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕

อภิณหปัจจเวกขณ์ หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ควรพิจารณาอยู่เนืองๆ เรื่องที่ควรพิจารณาทุกๆวัน คือ
๑.  ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
๒.  ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้
๓.  ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
๔.  ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๕.  ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น