วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2558

วิชา วินัยบัญญัติ

๑. พระวินัย ได้แก่อะไร ? สิกขาบทที่เป็นอเตกิจฉา คือที่ภิกษุล่วงละเมิด
              แล้วไม่สามารถจะแก้ไขได้ ได้แก่อะไร ?
              ๑. ได้แก่ พระพุทธบัญญัติ และอภิสมาจาร ฯ
              ได้แก่ ปาราชิก ๔ ฯ

          ๒. นิสสัย คืออะไร ? มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
              ๒. คือ ปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต ฯ มี ๔ อย่าง ฯ
              คือ ๑. เที่ยวบิณฑบาต ๒. นุ่งห่มผ้าบังสุกุล
                   ๓. อยู่โคนไม้         ๔. ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ฯ

          ๓. อาบัติว่าโดยชื่อมีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
              ๓. มี ๗ อย่าง ฯ คือ   ๑. ปาราชิก  ๒. สังฆาทิเสส   ๓. ถุลลัจจัย
              ๔. ปาจิตตีย์     ๕. ปาฏิเทสียะ    ๖. ทุกกฏ    ๗. ทุพภาสิต ฯ

          ๔. ภิกษุโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติไม่มีมูล เป็นอาบัติอะไรบ้าง ?
              ๔. โจทด้วยอาบัติปาราชิก เป็นอาบัติสังฆาทิเสส
              โจทด้วยอาบัตินอกนี้ เป็นอาบัติปาจิตตีย์ ฯ

          ๕. ไตรจีวร มีอะไรบ้าง ? ภิกษุอยู่ปราสจากแม้คืนหนึ่ง ต้องอาบัติอะไร ?
              ๕. มี สังฆาฏิ คือผ้าคลุม อุตตราสงค์ คือผ้าห่ม และอันตรวาสก คือ
              ผ้านุ่ง ฯ
              ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

          ๖. ภิกษุรู้อยู่ น้อมลาภที่เขาน้อมไปจะถวายสงฆ์ มาเพื่อตน เพื่อบุคคลอื่น
              เพื่อเจดีย์ เพื่อสงฆ์หมู่อื่น จะเป็นอาบัติอะไรได้บ้าง ?
              ๖. น้อมมาเพื่อตน เป็นอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
              น้อมมาเพื่อบุคคลอื่น เป็นอาบัติปาจิตตีย์
              น้อมมาเพื่อเจดีย์และเพื่อสงฆ์หมู่อื่น เป็นอาบัติทุกกฏ ฯ

          ๗. ภิกษุนอนในที่มุงที่บังเดียวกันกับสามเณร จะเป็นอาบัติอะไรหรือไม่ ?
              ๗. นอนได้ ๓ คืน ไม่เป็นอาบัติ เกินกว่านั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ

          ๘. ภิกษุ ก อาพาธ ได้รับคำแนะนำให้ฉันอาหารในเวลาวิกาลเพื่อช่วยให้หาย
              ป่วยเร็ว แล้วฉันตามคำแนะนำนั้น มีวินิจฉัยตามพระวินัยอย่างไร ?
              ๘. มีวินิจฉัยว่า ภิกษุ ก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ฯ

          ๙. เสขิยวัตร คืออะไร ? แบ่งเป็นกี่หมวด ? หมวดที่ ๒ ว่าด้วยเรื่องอะไร ?
              ๙. คือ ธรรมเนียมหรือวัตรที่ภิกษุพึงศึกษา ฯ
              แบ่งเป็น ๔ หมวด ฯ
              ว่าด้วยเรื่อง โภชนปฏิสังยุต คือธรรมเนียมว่าด้วยเรื่องการขบฉัน ฯ

          ๑๐. ข้อว่า เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ นั้นมีอธิบายอย่างไร ?
              ๑๐. มีอธิบายวา่ รับโดยแสดงความเอื้อเฟ้อื ในบุคคลผ้ใู ห้ ไม่ดูหมิ่น และให้แสดง
              ความเอื้อเฟื้อในของที่เขาให้ ไม่ทำดังรับเอามาเล่นหรือเอามาทิ้งเสีย ฯ

วิชา ธรรมะ

๑. ธรรมมีอุปการะมากมีอะไรบ้าง ? ที่ว่ามีอุปการะมากนั้นเพราะเหตุไร ? 
              ๑. มี สติ ความระลึกได้ และสัมปชัญญะ ความรู้ตัว ฯ
              เพราะทำให้เป็นผู้ไม่ประมาทในการทำกิจการงานใด ๆ และเป็นอุปการะ 
              ให้ธรรมเหล่าอื่นเกิดขึ้น ฯ

           ๒. ในรัตนะ ๓ พระธรรม ได้แก่อะไร ? ให้คุณแก่ผู้ปฏิบัติตามอย่างไร ?
              ๒. ได้แก่พระธรรมวินัยที่เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ฯ
              ย่อมรักษาผู้ปฏิบัติไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว ฯ

          ๓. พระโอวาทของพระพุทธเจ้า หรือที่เรียกกันว่าหัวใจพระศาสนา มีกี่ข้อ ? อะไรบ้าง ?
              ๓. มี ๓ ข้อ ฯ คือ
              ๑. เว้นจากทุกจริต คือประพฤติชั่วด้วยกาย วาจา ใจ
              ๒. ประกอบสุจริต คือประพฤติดีด้วยกาย วาจา ใจ
              ๓. ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น

          ๔. ทุจริต คืออะไร ? ความเห็นว่าคุณของบิดามารดาครูบาอาจารย์ไม่มี 
              บุญบาปไม่มี จัดเป็นทุจริตข้อไหน ?
              ๔. คือ ประพฤติชั่วด้วยกายวาจาใจ ฯ 
              จัดเป็นมโนทุจริต ฯ

          ๕. ไตรลักษณะ ได้แก่อะไรบ้าง ?
              ๕. ๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง
              ๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์
              ๓. อนัตตตา ความเป็นของใช่ตนฯ

          ๖. พรหมวิหาร ๔ มีอะไรบ้าง ?
              ๖. มี เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ฯ
              เพราะเป็นธรรมเครื่องอยู่ของท่านผู้ใหญ่ ฯ

          ๗. นักเรียนผู้ต้องการจะเรียนหนังสือให้ได้ผลดี จะนำอิทธิบาทมาใช้อย่างไร ?
              ๗. ในเบื้องต้น ต้องสร้างฉันทะคือความพอใจในการศึกษาเล่าเรียนก่อน เมื่อ
              มีความพอใจ จะเป็นเหตุให้ขยันศึกษาหาความรู้ที่เรียกว่าวิริยะและเกิด
              ความใฝ่ใจใคร่รู้สิ่งต่าง ๆ มากขึ้น ที่เรียกว่าจิตตะ และเมื่อเรียนรู้แล้ว
              ก็ต้องนำความรู้นั้นมาใคร่ครวญพิจารณาให้เข้าใจเหตุและผลอย่างถูกต้อง
              ที่เรียกว่า วิมังสา ดั่งนี้ก็จะประสบผลสำเร็จในการศึกษาเล่าเรียนได้ ฯ

คิหิปฏิบัติ

           ๘. ศีลที่คฤหัสถ์ควรรักษาเป็นนิตย์ มีอะไรบ้าง ?
              ๘. มี ๑. เว้นจากการฆ่าสัตว์
                      ๒. เว้นจากการลักทรัพย์
                      ๓. เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
                      ๔. เว้นจากการพูดปด
                      ๕. เว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความ
                           ประมาท ฯ

          ๙. จงจับคู่ข้อทางซ้ายมือกับข้อทางขวามือให้ถูกต้อง
              ๙. ก. จะทำดีทำชั่ว ก็ต้องคล้อยตาม             ๑. มิตรดีแต่พูด
                   ข. ป้องกันเพื่อนผู้ประมาทแล้ว                ๒. มิตรหัวประจบ
                   ค. สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้      ๓. มิตรมีความรักใคร่
                   ง. ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว                         ๔. มิตรมีอุปการะ
                   จ. ทุกข์ ๆ ด้วย สุข ๆ ด้วย                        ๕. มิตรแนะประโยชน์
              ๙. ข้อ ก. คู่กับ ข้อ ๒.
                   ข้อ ข. คู่กับ ข้อ ๔
                   ข้อ ค คู่กับ ข้อ ๑
                   ข้อ ง คู่กับ ข้อ ๕
                   ข้อ จ คู่กับ ข้อ ๓.

          ๑๐. จงบอกโทษของการดื่มสุรามาสัก ๓ ข้อ
              ๑๐. มีโทษดังนี้ (ให้ตอบเพียง ๓ ข้อ)
                     ๑. เสียทรัพย์    ๒. ก่อการทะเลาะวิวาท    ๓. เกิดโรค
                    ๔. ต้องติเตียน  ๕. ไม่รู้จักอาย                 ๖. ทอนกำลังปัญญา ฯ
๑๑ มิตรแท้มี ๔ จำพวก คือ 
มิตรมีอุปการะ . มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ . มิตรแนะประโยชน์ . มิตรมีความรักใคร่
๑๒ การทำบุญโดยหย้อมี ๑๐ อย่าง คือ 
1. ให้ทาน หรือ ทานมัย อัน     2. รักษาศีล หรือ สีลมัย  คำว่า ศีล  3. เจริญภาวนา หรือภาวนามัย
4. การอ่อนน้อมถ่อมตน หรือ อปจายนมัย 5. การช่วยขวนขวายทำในกิจที่ชอบ
6. การให้ผู้อื่นมาร่วมทำบุญกับเรา 7. การอนุโมทนาส่วนบุญ 8. การฟังธรรม หรือ ธรรมสวนมัย
9. การแสดงธรรม หรือ ธรรมเทศนามัย 10. การทำความเห็นให้ถูกต้อง เหมาะสม
๑๓ เหตให้เกิดทุกข์ในอริยสัส เหตุให้เกิดทุกข์ซึ่งได้แก่ ตัณหา อันทำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ   ตราบใดที่ยังมีตัณหาอยู่ก็ยังมีปัจจัยให้เกิดอยู่   มีปัจจัยให้
นามธรรมและรูปธรรมเกิดขึ้น  ฉะนั้นก็จะต้องเป็นทุกข์    โลภ(สมุทัย) ทันทีที่เห็น
ก็ชอบแล้ว  ตราบใดที่ยังไม่เห็นทุกข์  ก็จะไม่เห็นสมุทัย  ตราบใดที่มีสมุทัยเป็นเหตุ
ยังมีความต้องการก็จะยังไม่เห็นตามความเป็นจริง
๑๔ขันธ์ ๕ ได้แก่ 1.รูปขันธ์ – ส่วนที่เป็นร่างกาย 
2.เวทนาขันธ์ – ส่วนที่เป็นความรู้สึก สุข ทุกข์ และเฉย ๆ 
3.สัญญาขันธ์ – ส่วนที่ทำให้จำอารมณ์ของ สุข ทุกข์ และเฉย ๆ ได้ 
4.สังขารขันธ์ – ส่วนที่เป็นความปรุงแต่งไปในทาง สุข ทุกข์ และเฉย ๆ 
5.วิญญาณขันธ์ – ส่วนที่เป็นความรู้แจ้งในอารมณ์ต่าง ๆ
๑.
บุพพการีและกตัญญูกตเวที ได้แก่บุคคลเช่นไร จงยกตัวอย่างมาสัก ๒ คู่

ตอบ บุพพการี ได้แก่บุคคลผู้ทำอุปการะคุณก่อน
กตัญญูกตเวที ได้แก่บุคคลผู้รู้อุปการะคุณที่ท่านทำแล้วและทำตอบแทน
จับคู่ได้ดังนี้ คู่ที่ ๑ มารดาบิดากับบุตรีธิดา
คู่ที่ ๒ ครูอาจารย์กับศิษย์
คู่ที่ ๓ พระราชากับราษฎร
คู่ที่ ๔ พระพุทธเจ้ากับพุทธบริษัท
(ตอบเพียง ๒ คู่พอ)

๒.
พระพุทธเจ้าคือใคร ? ทรงสั่งสอนเป็นอัศจรรย์อย่างไร ?
ตอบ พระพุทธเจ้า คือท่านผู้สอนให้ประชุมชนประพฤติชอบด้วย กาย วาจา ใจ ตามพระธรรมวินัย ทรงสั่งสอนเป็นอัศจารรย์ คือผู้ปฏิบัติตามย่อมได้รับประโยชน์โดยสมควรแก่ความปฏิบัติ และสามารถบันดาลให้ผู้ฟังกลับตัวกลับใจมาประพฤติและเห็นถูกได้อย่างอัศจรรย์
๓.
เห็นผิดจากคลองธรรม คือเห็นอย่างไรจัดเข้าในทุจริตข้อไหน?

ตอบ เห็นผิดจากคลองธรรม คือมีความเห็นผิดจากความเป็นจริง เช่น เห็นว่าบุญบาปไม่มี บิดามารดาไม่มีคุณ เป็นต้น จัดเข้าในมโนทุจริต เพราะความเห็นเช่นนั้นชื่อว่า มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดจากคลองธรรม
หลักธรรมที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจของผู้อื่น ผูกไมตรี เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล หรือเป็นหลักการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน (สังคหวัตถุ ๔)

มีอยู่ 4 ประการ ได้แก่

๑. ทาน คือ การให้ การเสียสละ หรือการเอื้อเฟื้อแบ่งปันของๆตนเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่น ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว ไม่เป็นคนเห็นแก่ได้ฝ่ายเดียว คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว
เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้
๒. ปิยวาจา คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะอ่อนหวาน พูดด้วยความจริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์เหมาะสำหรับกาลเทศะ พระพุทธเจ้าทรงให้ความสำคัญกับการพูดเป็นอย่างยิ่ง 
เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่จะสร้างมนุษย์สัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้น 
วิธีการที่จะพูดให้เป็นปิยวาจานั้น จะต้องพูดโดยยึดถือหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้
๑. เว้นจากการพูดเท็จ
๒. เว้นจากการพูดส่อเสียด

๓. เว้นจากการพูดคำหยาบ

๔. เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ

๓. อัตถจริยา คือ การสงเคราะห์หรือการประพฤติในสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
๔. สมานัตตา คือ การเป็นผู้มีความสม่ำเสมอ หรือมีความประพฤติเสมอต้นเสมอปลาย

อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕

อภิณหปัจจเวกขณ์ หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ควรพิจารณาอยู่เนืองๆ เรื่องที่ควรพิจารณาทุกๆวัน คือ
๑.  ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
๒.  ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้
๓.  ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
๔.  ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
๕.  ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว

วิชา พุทธประวัติ

  ๑. ศากยวงศ์สืบเชื้อสายมาจากชนชาติใด ? ชนชาตินั้นมาตั้งถิ่นฐานใน
              ชมพูทวีปได้อย่างไร ?
              ๑. สืบเชื้อสายมาจากชนชาติอริยกะ ฯ ชาวอริยกะนั้นเป็นผู้เจริญด้วยความรู้
              และขนบธรรมเนียม มีอำนาจมากกว่าพวกมิลักขะเจ้าของถิ่นเดิม เมื่อ
              ข้ามภูเขาหิมาลัยมาก็รุกไล่พวกมิลักขะ เจ้าของถิ่นเดิมให้ถอยร่นลงมาทางใต้
              แล้วเข้าตั้งถิ่นฐานในชมพูทวีปแทน ฯ


๒. ภายใน ๗ วัน หลังจากสิทธัตถะราชกุมารประสูติแล้ว มีเหตุการณ์สำคัญ
              เกิดขึ้นแก่พระองค์อย่างไรบ้าง ?
              ๒. ๑. เมื่อประสูติแล้วใหม่ ๆ อสิตดาบส (หรือกาฬเทวิลดาบส) เข้าไป
                   เฝ้าเยี่ยมและทำนายพระลักษณะ
                   ๒. วันที่ ๕ พระเจ้าสุทโธทนะเชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คนมาฉันโภชนาหาร
                   และขนานพระนามพระราชกุมารว่าสิทธัตถกุมาร
                   ๓. วันที่ ๗ พระราชมารดาทิวงคต ฯ

๓. พระพุทธเจ้าเสด็จออกบรรพชา ตรัสรู้ และปรินิพพาน เมื่อมีพระชนมายุ
              เท่าไรบ้าง ?
              ๓. เสด็จออกบรรพชา เมื่อมีพระชนมายุ ๒๙ ปี
              ตรัสรู้ เมื่อมีพระชนมายุ ๓๕ ปี
              ปรินิพพาน เมื่อมีพระชนมายุ ๘๐ ปี ฯ

๔. ปัญจวัคคีย์ คือใคร ? มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าขณะที่ยังทรง
              บำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างไร ?
              ๔. คือ นักบวชกลุ่มหนึ่ง มีทั้งหมด ๕ คน มีท่านโกณทัญญะเป็นหัวหน้า ฯ
              ได้ตามเสด็จ คอยอุปัฏฐากรับใช้อยู่ตลอดเวลา ฯ

๕. เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ พระองค์ทรงพิจารณาบุคคลผู้สามารถจะตรัสรู้
              ธรรมได้โดยเปรียบเทียบกับบัว ๓ เหล่า อย่างไรบ้าง ?
              ๕. ๑. บุคคลบางคน มีกิเลสน้อย มีอินทรีย์แก่กล้า เป็นผู้จะพึงสอน
                   ให้รู้ได้โดยง่าย อาจจะตรัสรู้ธรรมพิเศาได้โดยฉับพลัน เปรียบเหมือน
                   บัวที่ตั้งอยู่พ้นน้ำ เมื่อถูกแสงอาทิตย์ก็จักบานในวันนั้น
                   ๒. บุคคลบางคน มีกิเลสปานกลาง มีอินทรีย์ปานกลาง เป็นผู้จะพึง
                   สอนให้รู้ได้เมื่อได้รับคำแนะนำ เปรียบเหมือนบัวที่ตั้งอยู่เสมอน้ำ
                   จักบานในวันพรุ่งนี้
                   ๓. บุคคลบางคน มีกิเลสหนา มีอินทรีย์อ่อน เมื่อได้รับการสั่งสอน
                   อบรมอยู่เสมอ ๆ ก็จะสามารถบรรลุธรรมได้ เปรียบเหมือนบัวที่
                   ตั้งอยู่ในน้ำ จักบานในวันต่อ ๆ ไป ฯ
๖. คำว่า ดวงตาเห็นธรรม นั้นคือเห็นอย่างไร ? พระโมคคัลลานะและ
              พระสารีบุตรได้ดวงตาเห็นธรรมเพราะฟังธรรมจากใคร ?
              ๖. คือเห็นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลมี
              ความดับเป็นธรรมดา ฯ พระโมคคัลลานะได้ดวงตาเห็นธรรมเพราะฟัง
              ธรรมจากพระสารีบุตร และพระสารีบุตรได้ดวงตาเห็นธรรมเพราะฟังธรรม
              จากพระอัสสชิเถระ ฯ

๗. สังเวชนียสถาน ๔ ได้แก่ที่ใดบ้าง ?
              ๗. ได้แก่ ๑. สถานที่ประสูติ                   ๒. สถานที่ตรัสรู้
                            ๓. สถานที่แสดงปฐมเทศนา    ๔. สถานที่ปรินิพพาน ฯ
๘. พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญปฏิบัติบูชายิ่งกว่าอามิสบูชา เพราะเหตุไร ?
              ๘. เพราะเมื่อพุทธบริษัทปฏิบัติธรรมได้สมควรแก่ธรรมแล้ว ก็จะเป็นปัจจัย
              ให้ตรัสรู้ธรรมได้ ทั้งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา และเป็น
              พระพุทธประสงค์หลักในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา อีกทั้งการปฏิบัตินี้
              จะทำให้ศาสนาตั้งมั่นอยู่ได้ยืนนาน ฯ
 ๙. พุทธมามกะหรือพุทธมามิกาหมายถึงบุคคลเช่นไร ?
              ๙. หมายถึง บุคคลผู้เป็นชายหรือหญิงผู้รับนับถือพระพุทธเจ้าเป็นของตน
              เป็นการยอมรับนับถือพระพุทธศาสนาประจำชีวิตของตนนั่นเอง ฯ
 ๑๐. ในการประเคนของถวายพระ มีวิธีปฏิบัติอย่างไร ?
              ๑๐. จับของที่จะประเคนด้วยมือทั้งสอง ยกขึ้นให้สูงเล็กน้อยแล้วน้อมถวายพระ
              ซึ่งท่านจะยื่นเมื่อทั้งสองออกมารับ หากว่าผู้ถวายเป็นสตรี พึงวางของ
              ลงบนผ้ากราบที่พระปูไว้ข้างหน้า เสร็จแล้วพึงไหว้หรือกราบก็เป็นอัน
              เสร็จวิธีการประเคน การประเคนนี้ต้องแสดงออกด้วยความเคารพ
              ไม่ใช่เสือกไสให้ หรือทิ้งให้โดยไม่เคารพ อีกอย่าง ของที่จะประเคนนั้น
              ต้องเป็นสิ่งของที่คน ๆ เดียวพอยกได้อย่างธรรมดา ไม่ใช่ของหนักหรือ
              ใหญ่จนเกินไป 

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

8. สติ โลกสฺมิ ชาคโร แปลว่า สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก

ณ บัดนี้จักได้ขยายความกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้น พอเป็นแนวทางแห่งการศึกษา 

และ นำไปฏิบัติสึบต่อไป


สติ แปลว่า ความระนึกได้ เป็นเครื่องเตือนใจให้ตื่นอยู่เสมอ ในการกระทำทั้งหมด บุคคลผู้มีสตินั้น เป็นผู้

ตื่นด้วยอยู่เสมอ ทำอะไรก็จะไม่ผิดพลาด เพราะมีสติค่อยเตื่อนให้ตื่นอยู่เสมอ ได้แก่ เตือนให้ทำแต่สิ่งที่

ดี มีประโยชน์ ไม่ให้ผิดพลาดไปในทาทีเสือมเสียได้ ดั่งนั้นบุคคลผู้มีสติจึงได้ประสบแต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์

เสมอ ดังสุภาษิตกล่าวขึ้นเบื้องต้นนั้สติ 

                            โลกสฺมิ ชาคโร  แปลว่า สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลกนว่า

7. ปุณฺญํ สุขํ ชิวิตปุสงฺขยมฺหิ แปลว่า บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต

ณ บัดนี้จักได้ขยายความกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้น พอเป็นแนวทางแห่งการศึกษา 

และ นำไปฏิบัติสึบต่อไป


บุญ คือความสบายใจ เป็นแห่งผลของการกระทำคุณงามความดี บุฯนั้นจะเกิดขึ้นได้ด้วยอากาศ ๓ อย่าง


คือ ๑ บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล ๒ บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน ๓ บุณสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา บุคคล


ผู้กระทำบุญอยู่เนืองนิตย์ ยอมมีชีวิตสูงก่วาคนธรรมดา ดำลงชีชีวิตโดยสุขกายสบายใจ ตลอดเวลาที่ยังมี


ชีวิตอยู่ และเมือสิ้นชีวิตไปแล้วก็ได้รับความสุข คือมีสุขคติเป็นทีได้ ดังนั้น บุญจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์


และสัตว์ทังหลาย ดังสุภาษิตที่กล่าวขึ้นเบื้องต้นนั้นว่า 


    ปุณฺญํ สุขํ ชิวิตปุสงฺขยมฺหิ แปลว่า บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต        

6. ปาปานํ อกรณํ สุขํ แปลว่า การไม่ทำบาป นำความสุขมาให้

ณ บัดนี้จักได้ขยายความกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้น พอเป็นแนวทางแห่งการศึกษา และ นำไปฏิบัติสึบต่อไป

  บาปคือการประพฤติชั่วทางกาย วาจาและใจ ถ้าสาธุชนมาละเว้นเสีย

ได้เด็ดขาดด้วยปรีชยญาณ  ทุกข์ก็คือ  ความ เดือดร้อนกายใจก็จักไม่

เกิดขื้น ทานผู้ไม่ทำบาปได้ชึ่อว่าปิดประ        ตรูบายภู่มิ เสียได้ ผู้ไม่

ทำบาปแล้ว จึงได้มาบำเพ็ญคุณธรรมให้ มีประจำสันดาน ก็จะเป็นทาง

สุคติโลกสวรรค์ต่อไปตลอดถึงพระ      นิพพาน อันเป็นความสุขเกษม

 สำราญของผู้มุ่งสันติสุข ในพระพุทธ ศาสนา ดังนั้นการไม่ทำบาปเป็น
                  
สิ่งนำความสุขมาให้ ดังคำสุภาษิตกล่าว         ขื้นเบื้องต้นนั้นว่า
       
             ปาปานํ อกรณํ สุขํ การไม่ทำบาป ย่อมนำความสุขมาให้

5. ททมาโน ปีโย โหติ แปลว่า ผู้ให้ยอมเป็นที่รัก

ณ บัดนี้จักได้ขยายความกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้น พอเป็นแนวทางแห่งการศึกษา และ นำไปฏิบัติสึบต่อไป

การให้ปันสิ่งใดสิ่งหนึ่งแก่ผู้อื่นด้วยใจบริสุทธิ์  ก็เพื่อสงเคราะห์คนที่ขัดสน ก็เหมือนบุคคลผู้อัธยาศัย

กว้างขวาง มีจิตใจโอบอ้อมอารีอย่างนี้ บุคคลนั้นย่อมผูกไมตรีคนอื่นไว้ได้ และผู้ที่ได้รับการอนุเคราะห์

หรือบูชาย่อมมีไมตรีจิตเคารพ รักไคร้ตอบแทนตลอดจนหาทางตอบแทนเขาตามสติกำลังของตนๆ จะ

        ทำได้ ดั่งนั้น ผู้ให้ย่อมเป็นทีรัก ดังสุภาษิตกล่าวเบื้องต้นนั้นว่า                                          
                                     ททมา โน ปิโย โหติ 
                                       ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก